เปลี่ยน 5 พฤติกรรม รับรองสุขภาพดีแน่นอน
ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ส่งผลต่อสุขภาพเราทั้งนั้น แล้วเราจะทำอย่างไรให้ทุกกการกระทำของเราเป็นส่วนที่ทำให้สุขภาพเราดียิ่งขึ้น หาก เปลี่ยน 5 พฤติกรรม ที่จะทำให้คุณสุขภาพดีแน่ ๆ หากทำตามนี้
เปลี่ยน 5 พฤติกรรม รับรองสุขภาพดีแน่นอน
1. กินให้ช้าลง
วิธีนี้เป็นการหลอกสมองกลาย ๆ ว่าเรากำลังอิ่ม และจะไม่ทำให้เราทานอาหารมากเกินไป ถ้ากินให้ช้าลงแล้วเราจะนึกถึงสิ่งที่ทานอยู่ แล้วจะตระหนักได้ว่าเรากำลังทานอะไร และเลือกสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับร่างกาย การเคี้ยวอาหารที่นานขึ้นมากเท่าไหร่ อาหารที่เรานำเข้าไปจะละเอียดขึ้นมากเท่านั้น ส่งผลให้การทำงานของระบบการย่อยอาหารภายในร่างกายทำงานเบาลง จะช่วยลดปัญหาการย่อยอาหารของเรา
การที่เราจดจ่อกับการทานอาหาร จะทำให้เรามีสมาธิมากขึ้น ช่วยให้เราลืมนึกถึงความเครียดไปได้ในบางครั้ง และอรรถรสในการลิ้มลองอาหารยังมีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
2. เข้าสังคม
มันอาจไม่เกี่ยวว่าเราจะมีเพื่อนมากเท่าไหร่ แต่การมีเพื่อนที่สามารถไปทานอาหารด้วยกัน การพูดคุยช่วยทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดี การทานอาหารกับเพื่อนมีแนวโน้มที่จะไม่เจอปัญหาสุขภาพ เท่ากับกินข้าวคนเดียว
3. งดกินน้ำผลไม้ ให้ทานผลไม้สดแทน
การทานน้ำผลไม้จะทำให้เสียคุณค่าทางโภชนาการบางส่วนไป และเราจะได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็น เมื่อคั้นเสร็จแล้วจะเหลือแต่น้ำ ไม่มีกากไม่ต้องเคี้ยว ทำให้ได้รับน้ำตาลฟรุกโตสโดยตรง เมื่อดื่มแล้วจะสดชื่นและได้รับพลังงานอย่างรวดเร็วแต่สิ่งที่ทิ้งไปคือสิ่งที่มีประโยชน์ค่อนข้างมากที่เรียกว่า กาก ไม่เพียงแต่กากที่มีประโยชน์ยังมีสารอาหารมากมายที่ถูกทิ้งไปพร้อมๆกับกากด้วย ถ้าอยากดื่มน้ำผลไม้ก็สามารถทำได้ในปริมาณที่พอเหมาะคือประมาณวันละไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน ก็เพียงพอแล้ว
แต่การทานผลไม้สดจะทำให้เราได้คุณค่าเต็มเปี่ยม เช่น วิตามิน C โพแทสเซียม ไฟเบอร์ กรดโฟลิก ที่สำคัญไขมันและแคลอรี่ในผลไม้สดยังต่ำอีกด้วย การกินผักและผลไม้ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้ ซึ่งใน 1 วันควรกินผัก-ผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400 กรัม ต่อคนต่อวัน โดยแบ่งเป็นผัก 3 ส่วนและ ผลไม้ 2 ส่วน
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) เป็นชื่อเรียกของกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ เป็นโรคไม่ติดต่อ และ ไม่แพร่กระจายโรคจากการสัมผัสคลุกคลี กับคนที่เป็นโรค ประกอบด้วย 6 โรคได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และ โรคอ้วนลงพุง
4. หาเวลาพักผ่อน
หาเวลาว่างในการพักผ่อน ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อน ๆ จะชาวยทำให้จิตใจและร่างกายของเราได้ผ่อนคลาย คนที่ใช้เวลาในการพักผ่อนเยอะ จะมีอายุที่ยืนยาว และมีโอกาสน้อยที่จะเป็นโรคหัวใจ หรือมีปัญหาสุขภาพ
นอนน้อย (Lack of Sleep) คือ ภาวะที่ร่างกายนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อสภาวะอารมณ์และประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผู้ที่นอนน้อยอาจอารมณ์เสียหรือทำงานได้ไม่ดี การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นประจำนั้นทำให้เสี่ยงป่วยและมีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน
ผู้ที่นอนน้อยมักรู้สึกเหนื่อยและง่วงซึมตลอดวัน สามารถหลับได้ภายใน 5 นาทีเมื่อนอนลงไป หรืออาจประสบภาวะวูบหรือหลับในช่วงเวลาสั้น ๆ (Microsleep) ทั้งนี้ ภาวะนอนน้อยอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สมรรถภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ จะลดลง เช่น ขับรถหรือควบคุมการทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนให้สอดประสานกันได้ยาก เมาแอลกอฮอล์ง่ายกว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่หายง่วงหลังจากรับประทานคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มชูกำลังอื่น ๆ รวมทั้งเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
5. ดื่มบ้าง
ดื่มในที่นี้หมายถึงดื่ม แอลกอฮอลล์ นั่นแหละ การดื่มเพียงเล็กน้อยนั่นมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ และค่อยจัดการกับความเครียด แต่ขอย้ำว่าไม่ควรกินเยอะ เพราะจากที่จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะกลายเป็นทำให้สุขภาพเราพังแทน ผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน ส่วนผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน
แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งเป็นประสาทที่ควบคุมความคิด การเคลื่อนไหว อารมณ์ ความรู้สึก ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมรูปแบบต่าง ๆ มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งหากดื่มเข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้ผู้ดื่มมีอาการง่วงซึม หรือขาดสติได้ แต่หากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ทำให้สนุกสนานอารมณ์ดี และช่วยป้องกันให้เราห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย
ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่พอเหมาะพอดีซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่แนะนำ คือ ผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 2 หน่วย และผู้หญิงไม่เกิน 1 หน่วยบริโภคต่อวันโดยปริมาณบริโภคต่อหน่วยจำแนกตามประเภทของเครื่องดื่ม คือ
- เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 5% = 360 มิลลิลิตร
- ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 12% = 150 มิลลิลิตร
- สุราที่มีแอลกอฮอล์ 40% = 45 มิลลิลิตร
จริง ๆ แล้วการ เปลี่ยน 5 พฤติกรรมนี้ เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่เรานำมาเสนอ ยังมีอีกหลายพฤติกรรม เช่น การจัดการกับความเครียด หรือว่าการงดน้ำตาล เอาไว้ครั้งหน้าเรามาพูดถึงเรื่องสุขภาพอีกนะคะ
อ่านบทความเพิ่มเติม สุดยอดเคล็ดลับเพื่อธุรกิจออนไลน์ พร้อมเทคนิคจัดการภาษีสุดง่าย